อานิสงส์ของผู้มีศีลและอาจาระ
เราได้เข้ารักษาอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ นำมาซึ่งความสุขอันกำหนดไม่ได้เลยเนืองนิตย์ และได้สร้างกุศลธรรมไว้อย่างบริบูรณ์ ครั้นจุติจากโลกมนุษย์แล้ว ได้บังเกิดเป็นเทพธิดาผู้มีรัศมีในกายของตัวเอง เที่ยวรื่นรมย์อยู่รอบๆ สวนนันทวัน
ชัยชนะครั้งที่ ๘ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า(ตอนที่ ๒ ชนะพกาพรหม)
การปฏิบัติธรรมที่จะให้ได้ผลดี ต้องรักษาใจให้สงบเยือกเย็น มีเมตตาจิตในสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้มีอารมณ์ดี อารมณ์สบายตลอดเวลา
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - เปลี่ยนวิถีชีวิตด้วยบุญบารมี
เรื่องมีอยู่ว่า พญาปฐวินทรนาคราช ผู้ได้เสวยสุขอยู่ในนาคพิภพ สมบูรณ์ด้วยสมบัติอันโอฬารล้วนด้วยรัตนชาติ พรั่งพร้อมด้วยเบญจกามคุณทั้งห้า ครั้นได้เสวยสุขสมบัติอันซ้ำซากจำเจอย่างนั้นนานวันเข้า เกิดความเบื่อหน่ายในนาคพิภพ อันเป็นปกติของหมู่สัตว์ที่ต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ จึงดำริอยู่ในใจว่า"แม้เราจะสมบูรณ์พรั่งพร้อมด้วยรัตนสมบัติมากมาย แต่ก็ไม่ได้ประเสริฐเท่าใด เพราะยังไม่พ้นจากกำเนิดของสัตว์ที่ต้องเลื้อยคลานไปได้"
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - แรงบันดาลใจ ( ๑ )
พระราชาทรงมองดูลำต้น พลางดำริว่า ต้น มะม่วงต้นนี้ เมื่อเช้านี้เอง ยังเต็มไปด้วยผล เป็นพวงสวยงาม ทำความอิ่มตาเบิกบานใจให้แก่ผู้พบ เห็นที่ผ่านมาผ่านไป มาบัดนี้ ถูกเก็บผลหมดแล้ว มีกิ่งหักห้อยรุ่งริ่งดูไม่งาม แม้เราก็ควรเป็นเหมือนต้นไม้ที่ไม่มีผล พระองค์ทรงกำหนดไตรลักษณ์เช่นนี้ ทรงเจริญวิปัสสนา จนได้บรรลุปัจเจกโพธิญาณ
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - ผู้ชี้หนทางสว่าง
เรื่องมีอยู่ว่า พระเจ้าพรหมทัต ท่านหลงผิด ไปติดใจในการเสวยเนื้อมนุษย์ จึงทำบาปกรรมจนถูกเนรเทศออกไปจากเมือง พระองค์ได้ไปอาศัยอยู่ใต้ต้นไทรในป่า เปลี่ยนชื่อเป็น โจรโปริสาท คอยดักฆ่าคนที่เดินทางผ่านมา แล้วเอาเนื้อมากิน จนข่าวนี้ลือกันไปทั่วชมพูทวีป
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - มีไมตรีจิตต่อกัน
ข้าแต่พญาหงส์ ในยามผลดกนกทั้งหลายก็ชุม แต่พอผลวายนกทั้งหลายก็ไปไม่เหลียวแล ตอนมีผลประโยชน์ใครๆ ก็เห็นคุณค่า แต่ตอนที่หมดประโยชน์ ใครบ้างเล่าจะนึกถึงผู้มีอุปการคุณ เราจะไม่ไปไหนทั้งนั้น ต้นไม้นี้เป็นทั้งเพื่อน เป็นทั้งญาติของเรา เราต้องการเป็นอยู่เพียงเท่านี้ ขอเพียงได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับต้นไม้ที่มีพระคุณกับเราเท่านั้น
มงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน - สมบัติเคียงคู่ผู้มีบุญ
จะเห็นได้ว่า ใครมีบุญ สมบัติจะไปอยู่กับคนนั้น นายควาญช้างเป็นผู้สั่งสมบุญไว้ดีแล้วในกาลก่อน บุญนั้นจึงส่งผลให้เขาได้เป็นพระราชา เหมือนดังที่พระบรมศาสดาได้ตรัสพระคาถาในสิริชาดก ติกนิบาตว่า
มงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน - ชีวิตที่ลิขิตได้ด้วยบุญ
ปกติของคนตระหนี่จะไม่ชอบให้ ทาน เพราะเขากลัวความจน กลัวว่าทรัพย์ที่ให้ไปจะสูญเปล่า แต่ผู้รู้กลับบอกว่า ยิ่งให้จะยิ่งได้ เพราะการทำความดีใดๆ ที่จะไม่ส่งผลนั้น เป็นไม่มี หากเริ่มดำรงตนอยู่ในสถานะของผู้ให้ ใจของเราจะสูงขึ้น เป็นอิสระจากความตระหนี่ และจะขยายออกไปอย่างไม่มีประมาณ เมื่อถึงขีดถึงคราวที่บุญส่งผลจะได้รับเกินควรเกินคาดทีเดียว แม้ตัวเรายังรู้สึกอัศจรรย์ในตัวเอง
มงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน - คําว่าไม่มีอย่าได้รู้จัก
พระมารดาทรงดำริว่า ลูกของเราไม่เคยได้ยินคำว่า "ไม่มี" เพราะตั้งแต่เกิดมาอยากได้อะไรก็ได้ทุกอย่าง พระนางต้องการให้โอรสได้รู้จักคำว่า "ไม่มี" จึงส่งถาดเปล่า เอาฝาครอบไปให้ แต่เนื่องจากท่านสั่งสมบุญด้วยการให้ทานไว้มาก เทวดาจึงเนรมิตขนมทิพย์จนเต็มถาด เมื่อเจ้าชายเปิดออก กลิ่นหอมของขนมได้หอมฟุ้งไปทั่ว
มงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน - ในดีไม่มีเสียในเสียมีดี
การมองให้เห็นคุณค่าในทุกสิ่ง การรู้จักเลือกเอาแต่สิ่งที่ดี ที่มีประโยชน์จากสิ่งต่างๆ ออกมาใช้ จึงเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่สำคัญมาก และก็ต้องศึกษาธรรมชาติของทุกสิ่งให้กระจ่างแจ้ง จนสามารถสร้างสรรค์ทุกสิ่งได้อย่างเหมาะสม เพราะแม้ขยะเขายังเปลี่ยนมาเป็นปุ๋ยได้